ระหว่างใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ควรดำเนินการดังต่อไปนี้

ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า ต้องอยู่ในเกณฑ์กำหนด ตรวจสอบความถี่ทางไฟฟ้า ต้องอยู่ในเกณฑ์กำหนด ตรวจสอบกระแสการใช้งานของ Load ต้องไม่เกินกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตรวจสอบแรงดันน้ำมันเครื่องยนต์ว่าปกติหรือไม่จากมาตรวัด ตรวจสอบอุณหภูมิของเครื่องยนต์ว่าปกติหรือไม่จากมาตรวัด สังเกตและฟังเสียงที่เกิดจากอาการผิดปกติของเครื่องยนต์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตรวจเช็คการทำงานของตู้ควบคุม ไม่ควรเปิดหรือปิดเบรกเกอร์สำหรับจ่าย Load บ่อย ๆ โดยไม่จำเป็น หากเกิดประกายไฟจากจุดต่าง ๆ หรือมีกลิ่นไหม้ ควันขึ้นให้ดับเครื่องยนต์แล้วแจ้งช่าง ควรมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลเครื่องยนต์ขณะใช้งานตลอดเวลา

หลังการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ควรดำเนินการดังต่อไปนี้

ตรวจสอบรอยรั่วซึมของระบบน้ำหล่อเย็น รอยรั่วซึมของน้ำมันหล่อลื่น ทำความสะอาดหม้อน้ำรังผึ้ง โดยปัดฝุ่นผง เศษวัสดุที่ติดตามแนวหม้อน้ำ ตรวจสอบข้อต่อส่งกำลังต่าง ๆ ตรวจสอบจุดต่อสายไฟต่าง ๆ ทำความสะอาดไส้กรองอากาศ ตรวจสอบหารอยปริร้าวของสายพานฉุดใบพัด และสายพานต่าง ๆ ทำความสะอาดสถานที่และเครื่องยนต์ ตู้ควบคุม ตรวจดูระดับน้ำกลั่นในหม้อแบตเตอรี่ให้อยู่ในระดับไล่ความชื้นออกจากที่กรองน้ำมันเชื้อเพลิงทุก ๆ สัปดาห์ ตรวจสอบจดบันทึกการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และชั่วโมงการทำงานของเครื่องยนต์

ขั้นตอนการบำรุงรักษา (Check List)

การบำรุงรักษาโดยผู้ใช้งาน ระยะเวลา วิธีปฏิบัติ ผลการตรวจสอบ ทุกวันหรือ 20 ชั่วโมงการใช้งาน ทำความสะอาดโรงไฟฟ้า ตู้ควบคุม ตรวจระดับน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ ตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำ  ตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำและน้ำมันต่าง ๆ ตรวจระดับน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจความตึงสายพาน ตรวจสอบข้อต่อสายไฟ

 

This entry was posted in เทคโนโลยี and tagged , . Bookmark the permalink.

Comments are closed.